น.ส.รัชนี รัมมะไม เครือข่ายพลังสตรี อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ได้เริ่มให้กลุ่มสตรีในพื้นที่ 3 จังหวัด ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา มีส่วนร่วมและเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาอีอีซี และร่วมเป็นพลังเครือข่ายในการดูแล และเฝ้าระวังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้พลังสตรี อีอีซี เป็นกลไกสำคัญการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการส่งต่อองค์ความรู้ ความเข้าใจให้แก่ท้องถิ่น ชุมชน การขยายเครือข่ายเฝ้าระวัง และความร่วมมือระดับพื้นที่ ดำเนินกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันมีเครือข่ายพลังสตรี ใน 3 จังหวัด ประมาณ 600 คน
ทั้งนี้ในช่วง 2 ปีที่ทาง อีอีซี ได้เข้ามาส่งเสริมในพื้นที่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของสตรีในชุมชน สร้างกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ โดยกลุ่มพลังสตรีอีอีซี ได้ดำเนินการพัฒนาชุมชนใน 2 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1.การบริหารจัดการคัดแยกขยะ โดยได้เริ่มปลูกฝังค่านิยม และให้ความรู้กับเยาวชนในโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล ไปจนถึงมัธยมศึกษา ให้รู้จักคัดแยกขยะ และนำขยะที่รีไซเคิลได้มาแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปประดิษฐ์เป็นสินค้า DIY มาขายเป็นสินค้าที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว หรือชาวบ้านที่เข้ามาดูงานในพื้นที่
ส่วนขยะหรือวัสดุที่ไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ก็จะต้องนำไปกำจัดที่เตาเผาขยะผลิตไฟฟ้าของจังหวัดระยอง ซึ่งการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจะต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน ไปถึงโรงเรียน และสถานประกอบการต่างๆ โดยมีตัวอย่างความสำเร็จเกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลหนองตะพาน ได้รับรางวัลระดับประเทศในด้าน zero waste community
นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งธนาคารขยะที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยเด็กๆ และชาวบ้าน สามารถนำขยะวัสดุเหลือทิ้งที่นำมารีไซเคิลได้มาแลกเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ไข่ กะปิ น้ำปลา เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดหาเครื่องจักรแปรรูปฝาขวดพลาสติกมาเป็นไม้แขวนเสื้อ ตะกร้า และอุปกรณ์ต่างๆ กลับมาจำหน่าย หรือใช้ในชุมชน ซึ่งผลที่ได้ไม่เพียงแต่จะช่วยลดปัญหาขยะในพื้นที่ แต่ยังช่วยปลูกจิตสำนึกให้กับชาวบ้านในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.โครงการแปรรูปผลไม้ โดยใช้ภูมิปัญหาของคนในพื้นที่ เช่น การผลิตทุเรียนกวน กล้วยกวน และสับปะรดกวน ในระยะหลังก็แปรรูปเป็นทุเรียนทอด มังคุดกวน เป็นต้น โดยทาง อีอีซี ได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะการรวมกลุ่มสตรีที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับกลุ่มสตรีในจังหวัดชลบุรี และฉะเชิงเทรา ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ให้การสนับสนุนการขายสินค้าระหว่างกัน ทำให้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ อีอีซี ยังได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดหานวัตกรรมใหม่ๆ ในด้านการเพิ่มคุณภาพผลผลิตการเกษตร เช่น การแจกถุงแดงให้กับชาวสวนนำไปห่อทุเรียนในสวน ทำให้ได้ผลทุเรียนที่มีผิวสวย มีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้ขายผลผลิตได้ราคาดียิ่งขึ้น และยังได้นำเทคโนโลยีการเพาะปลูกอื่นๆ เข้าไปช่วยเกษตรในวงกว้าง ให้มีรายได้จากการขายผลผลิตสูงขึ้นคำพูดจาก เว็บดีฝากถอนปลอดภัย
“อีอีซี ได้เข้ามาช่วยให้รวมกลุ่มสตรี ทำให้เรามีเพื่อน มีเครือข่ายร่วมกับชุมชนในจังหวัดอื่นๆ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ มีความสัมพันธ์ที่ดีในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ดีกว่าลักษณะของธุรกิจ การที่ อีอีซี เข้ามาสนับสนุนในเรื่องเหล่านี้ ได้ช่วยให้ชุมชนมีความก้าวหน้าและเข้มแข็งมากขึ้น”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
พร้อมกันนี้ ในอนาคตอยากให้ อีอีซี ขยายการรับรู้ด้านข้อมูลให้ครอบคลุมความคืบหน้าของ อีอีซี ในทุกด้านและมีความต่อเนื่อง เช่น โครงการโรงพยาบาลปลวกแดง ที่เป็นความร่วมมือก่อสร้างระหว่างรัฐเอกชน หรือมีอุตสาหกรรมใหม่ๆ อะไรเข้ามาลงทุนบ้าง จะส่งผลดีต่อประเทศไทยอย่างไร หากต้องการเข้าไปทำงานในบริษัทเหล่านี้จะต้องทำอย่างไร มีความต้องการแรงงานในสาขาใดบ้าง หรือจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอะไรเพิ่มเติม แล้วชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร เป็นต้น
“จะมีโอกาสมากมายเข้ามาในพื้นที่ อีอีซี โดยเยาวชน และประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้ ถ้าได้มีการปรับตัว เพิ่มทักษะ และออกไปไขว่คว้าโอกาสเหล่านี้ด้วยตัวเอง เพื่อให้โครงการ อีอีซี เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่อีอีซีอย่างเต็มที่”