“มันเป็นไปไม่ได้ ที่จะหยั่งรู้ว่าเมื่อไหร่ตลาดจะเป็นขาขึ้นหรือกำลังจะเป็นขาลง แต่สิ่งที่พอจะรู้ได้คือ ตอนนี้เราอยู่ตรงไหนของวัฏจักร พฤติกรรมของนักลงทุนรอบตัวเราจะสะท้อนบอกเราเอง” … คงไม่มีประโยคใดอธิบายตัวตนของ คุณโฮเวิร์ด มาร์กส์ (Howard Marks) ผู้ร่วมก่อตั้ง Oaktree Capital Management บริษัทสินทรัพย์จัดการกองทุนที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการถึง 6 ล้านล้านบาท ได้ดีเท่าประโยคนี้อีกแล้ว ใช่แล้วครับวันนี้ผู้เขียนจะนำบทความที่คุณโฮเวิร์ด มาร์กส์ เขียนถึงผู้ลงทุน มาเล่าสู่กันฟังในฉบับเข้าใจง่ายมาให้เพื่อนๆฟัง ซึ่งบทความดังกล่าวชื่อว่า “Further Thoughts on Sea Change” “ความคิดเห็นต่อสายลมแห่งการลงทุนที่เปลี่ยนผ่าน” โดยผู้เขียนขอแบ่งประเด็นออกเป็น 3 ช่วงเวลาคือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคตการลงทุน
อดีต
หากมองย้อนกลับไปในช่วงชีวิตการทำงานของมนุษย์การเงินหนึ่งคน หรือกว่า 40 ปีที่ผ่านมานั้น นักลงทุนล้วนแล้วเผชิญกับช่วงเวลาของอัตราดอกเบี้ยที่มีแต่ปรับตัวลดลง ตั้งแต่ช่วง 1980s เป็นต้นมา แม้ว่าบางช่วงเวลาอาจจะมีการปรับขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อยู่บ้างแต่โดยรวมแล้วนั้นแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ คงเป็นขาลงคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
จนกระทั่งในปี 2008 ได้เกิดเหตุการณ์วิกฤตการเงินโลก GFC (Global Financial Crisis) หรืออีกชื่อเล่นว่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์หรือซับไพรม์ ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed (The Federal Reserve)ต้องเข้าแทรกแซงตลาดการเงินโดยครั้งนั้นเป็นจุดเร่งของการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงเข้าใกล้ระดับดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์ เพื่อช่วยอุ้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่กำลังทรุดตัวรุนแรง
แม้ว่าต่อมาเศรษฐจกิจสหรัฐฯ เริ่มมีท่าทีฟื้นตัวได้บ้างแล้วในช่วงปี 2017-2018 และมีความพยายามจาก Fed ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อกลับเข้าสู่สภาวะปกติอยู่บ้าง แต่ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ที่ไม่อาจคาดคิดนั้นก็คือวิกฤตโรคระบาดโควิด ปี 2020 ส่งผลให้ Fed ต้องเข้ามาแทรกแซงตลาดการเงินอีกครั้งตามเคย เพียงแต่ครั้งนี้นอกจากจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง Fed ก็ได้มีการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านตลาดการเงินอีกด้วย
โดยรวมแล้วระยะเวลาระหว่างปี 2009-2021 ถือว่าเป็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำรอบใหญ่กว่า 13 ปี ซึ่งแน่นอนว่าไม่เพียงแต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถฟื้นตัวได้อย่างยาวนาน แต่มูลค่าของสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในระยะเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษ อันมีผลจากต้นทุนทางการเงินด้านดอกเบี้ยที่ต่ำ และในช่วงทศวรรษดอกเบี้ยต่ำ (2009-2021) นั้น ได้สร้างพฤติกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ของนักลงทุนที่กล้าเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากความต้องการในผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Seek for Yield) ท่ามกลางต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ ทำให้ผู้คนกล้าที่จะกู้เงินมาขยายกิจการหรือลงทุนมากขึ้น รวมถึงได้เกิดพฤติกรรมการลงทุนรูปแบบอื่นๆ เช่น FOMO (Fear of Missing Out) หรืออาการกลัวตกรถนั้นเอง
ปัจจุบันคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
เมื่อมีเหตุย่อมมีผลตามมาเป็นธรรมดาของโลกใบนี้ ผลกระทบจากการเร่งฟื้นเศรษฐกิจคือเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นรุนแรง โดยภายหลังการฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วงปลายโรคระบาดโควิดในปี 2021 อัตราเงินเฟ้อได้ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นในปี 2021-2022 จน Fed ต้องเข้ามาแทรกแซงอีกครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการแทรกแซงเพื่อหวังให้เงินเฟ้อชะลอตัวผ่านการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และหนึ่งในวิธีคลาสสิคที่ Fed สามารถทำได้เพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ คือการลดสภาพคล่องของเงินหมุนเวียนในระบบลง หรือการทำให้ผู้ลงทุนหันมาถือสินทรัพย์ปลอดภัย รวมถึงการทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นเพื่อชะลอการใช้จ่ายและการลงทุนซึ่งจะมีวิธีใดที่ตรงไปมากกว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงในปี 2022 จวบจนปัจจุบัน 2023 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ขยับตัวขึ้นมาในช่วงระดับ 5.25-5.50% นั้นนับว่าเป็นสัญญาณของการสิ้นสุดยุคทศวรรษดอกเบี้ยต่ำโดยบริบูรณ์
อนาคต
อนาคตคือการมองไปข้างหน้า เฉกเช่นกับการลงทุนที่ต้องคาดการณ์ผลลัพท์ของการลงทุน จากที่กล่าวมาสิ่งหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงทศวรรษใหม่นี้คืออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าทศวรรษที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนอกจากสภาพคล่องของเงินในระบบแล้ว อัตราดอกเบี้ยนับได้ว่าเป็นต้นทุนทางการเงินที่สำคัญที่สุดไม่แพ้กัน ในการกำหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงของการลงทุน
ด้านคุณโฮเวิร์ด มาร์กส์ ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจในยุคเปลี่ยนผ่านของอัตราดอกเบี้ยนี้ เพื่อให้นักลงทุนเฝ้าระวังไว้อยู่ด้วยกัน 7 ประการ
- การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในระยะยาวมีแนวโน้มชะลอตัวลง หรือเข้าสู่ยุคเติบโตช้าเมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา
- อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจมีแนวโน้มลดน้อยลง
- อัตราหนี้เสียในระบบการเงินมีแนวโน้มขยายตัว
- นักลงทุนอาจไม่สามารถคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงของการเพิ่มขึ้นในมูลค่าทรัพย์สินดังที่เป็นมาในทศวรรษที่ผ่านมา
- ต้นทุนทางการเงินหรือดอกเบี้ยไม่ได้มีแนวโน้มจะปรับลดลงกลับไปดั่งทศวรรษที่ผ่านมาในเร็วๆ นี้
- ความคาดหวังของกลุ่มนักลงทุนอาจจะไม่ค่อยกล้ามากนักเมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา
- ธุรกิจจะเผชิญกับความยากลำบากในการจัดหาแหล่งเงินทุนมากขึ้น
ทว่าเหตุการณ์ที่คุณโฮเวิร์ด มาร์กส์ คาดการณ์ดังกล่าวนั้น แม้ว่าอาจจะดูไม่ปกติเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่กลับเป็นเหตุการณ์ที่ดูใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่ควรจะเป็นในระบบทุนนิยม เมื่อไม่ได้มีการแทรกแซงจากธนาคารกลาง หรือ Fed มากนั้น แต่อย่างไรก็ตาม คุณโฮเวิร์ด มาร์กส์ ก็ไม่ได้ชี้นำให้นักลงทุนจะกังวลจนเกินไปว่าอัตราดอกเบี้ยจะพุ่งสูงเกินกว่า 10% ดั่งเช่นในช่วงต้นของยุค 1980s
ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนสามารถทำได้เพื่อเตรียมการรองรับการลงทุนในปีข้างหน้านี้คือ ปรับแผนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่มุ่งหวังผลตอบแทนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินทรัพย์ให้เหมาะสม ทำแผนรองรับกรณีที่อัตราดอกเบี้ยไม่ได้ปรับลดลง หรือ คงตัวในระดับปัจจุบัน รวมถึงทบทวนแผนการลงทุนกรณีที่ใช้กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปลงทุน
โดยหากมองเป็นการจัดสรรการลงทุนในพอร์ตแบบองค์รวมนั้น นักลงทุนอาจต้องยอมรับผลตอบแทนคาดหวังที่ลดลงสำหรับสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้น หรือยอมลดสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงในพอร์ตการลงทุนลงเพื่อให้ความเสี่ยงลดลงคุ้มกับผลตอบแทนที่น้อยลง รวมถึงนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงอาจจะต้องมองหาชนิดหรือประเภทการลงทุนที่เสี่ยงกว่าเดิมในกรณีที่ยังคงต้องการผลตอบแทนที่สูง
ส่วนประเภทการลงทุนที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ทางตรงจากการที่ดอกเบี้ยกลับมาอยู่ในระดับปกติ (ผู้เขียนไม่พูดว่าสูงเพราะเราอยู่ในยุคดอกเบี้ยต่ำเกินจริงมาช้านาน) แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นการลงทุนประเภท Private Credit (ตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการปล่อยกู้ซึ่งผู้ให้กู้ไม่ใช่ธนาคาร โดยอาจจะเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยตรงแก่บริษัท หรือการให้กู้แบบมีหลักประกัน) เนื่องจากผลตอบแทนของ Private Credit ณ ปัจจุบันค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับอดีต และคุ้มค่าเมื่อเทียบกับหุ้น ซ้ำนั้นอัตราผลตอบแทนคาดหวังยังอยู่ในระดับที่นักลงสถาบันระยะยาวโดยมากรับได้ เช่น กองทุนของมหาวิทยาลัย (Endowment funds) หรือมูลนิธิ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามคุณโฮเวิร์ด มาร์กส์ ได้เตือนนักลงทุนให้คำนึงถึงความเสี่ยงของ Private Credit เผื่อไว้ด้วย เช่น 1) ผลกระทบของโอกาสเกิดหนี้เสียหรือผิดนัดชำระที่อาจปรับตัวสูงขึ้น 2) ลักษณะสินทรัพย์ประเภทเงินกู้ที่แม้ว่าจะมีกระแสเงินสดแต่อาจจะเสียโอกาสในการปรับเพิ่มขึ้นของมูลค่า 3) การขายในระยะสั้นอาจทำได้ยากหรือหากต้องการขายโดยด่วนอาจต้องขายในราคาที่ถูกกว่ามูลค่ายุตคิธรรม 4) หากเงินเฟ้อกลับมาปรับตัวสูงกว่าคาด ผลตอบแทนที่ว่าดีอาจไม่ดีนัก (เมื่อหักลบกับอัตราเงินเฟ้อ) 5) รวมถึงโอกาสที่ Fed อาจกลับเข้าแทรกแซงอีกครั้งหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญกับการหดตัวครั้งใหญ่หรือวิกฤตที่ไม่มีใครคาดคิด ทั้งนี้ การลงทุนมีความเสี่ยงควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
Source: Oak Tree Capital; https://www.oaktreecapital.com/docs/default-source/memos/further-thoughts-on-sea-change3dda4540-569f-4415-9a5b-004fbabf06d4.pdf?sfvrsn=c3cc5166_4 Fed; https://www.federalreserve.gov/monetarypolicy/bst_recenttrends.htm
เขียนโดย : ยศกร ฟอลเล็ต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด (XSpring AM)